หลังคา ส่วนสำคัญที่เป็นดั่งศีรษะของบ้านในการให้ร่มเงา บดบังแสงแดด ฝน และภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งทำให้การอยู่อาศัยเกิดความปลอดภัย ปัจจุบันหลังคาได้ถูกออกแบบมาในหลากหลายดีไซน์
อาทิ ทรงจั่ว ทรงปันหยา ทรงแบน โดยเฉพาะทรงเพิงหมาแหงนกำลังได้รับความสนใจจากผู้อยู่อาศัยสมัยใหม่
หลังคาแบบลาดเอียงหรือเรียกง่ายๆแบบไทยว่า ทรงหมาแหงนนั้น โดดเด่นในเรื่องความสวยงาม
นิยมนำมาปรับใช้กับบ้านในสไตล์ โมเดิร์นเพราะแสดงออกถึงความทันสมัย ทั้งนี้หลังคาทรงดังกล่าวได้รับ
แรงบันดาลใจและการสานต่อทางสถาปัตยกรรมจากผู้อยู่อาศัยสมัยก่อนที่นิยมความเรียบง่าย ปลูกไว้เป็นเพิงสำหรับการจัดเก็บผลไม้หรือผลทางการเกษตร
เพราะหลังคาแบบนี้ สามารถป้องกันแดดและระบายน้ำฝนได้ดี ที่สำคัญไม่รั่วซึมง่ายและใช้วัสดุก่อสร้างที่น้อยกว่าหลังคา
แบบอื่นๆ ตอบโจทย์ในเรื่องประหยัดสอดรับกับเทรนด์ การอยู่อาศัยสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความคุ้มค่าได้อย่างเหมาะสม
สำหรับหลังคาเพิงหมาแหงนปัจจุบันนิยมนำมาปลูกสร้าง และออกแบบบ้านในสไตล์โมเดิร์น เพราะมีความสวยงาม ดูเรียบง่าย และทันสมัย
สำหรับหลังคาดังกล่าวสามารถออกแบบลาดเอียงไปได้ ในทางใดทางหนึ่งหรือตกแต่งให้ออกมาในลักษณะซ้อนกัน
รวมทั้งทำแบบสองแผ่นเอียงไปคนละด้านดั่งเช่นไอเดียบุคภาพนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มลูกเล่นและความสวยงามให้แก่ตัวบ้านได้อย่างน่าสนใจ
วัสดุก่อสร้างหรือออกแบบหลังคาดังกล่าวส่วนใหญ่ ใช้ไม้และเหล็กเป็นแกนหลัก
ส่วนกระเบื้องมุงหลังคาขึ้น อยู่กับความชอบความสวยงามและความสะดวกสบายของการใช้งาน
ซึ่งนอกจากความแข็งแรง ทนทาน ยังโดดเด่นในเรื่องความคุ้มค่า เพราะโครงสร้างและแผ่นกระเบื้องของหลังคาสไตล์
ดังกล่าวเมื่อเทียบกับหลังคาแบบอื่นๆ อาทิ ทรงจั่ว ทรงปันหยา หลังคาเพิงหมาแหงนใช้น้อยชิ้นกว่า
ทำให้ประหยัดงบประมาณต้นมุนในการปลูกสร้างได้อย่างสบายกระเป๋า
นอกจากความประหยัดและคุ้มค่าในแง่ของการก่อสร้างยังใช้ระยะเวลา ที่ไวกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ
เพราะหลังคาเพิงหมาแหงนทำได้ง่ายเพียงยึด โครงสร้างให้แข็งแรงและมุงหลังคาจากนั้นจะต่อเติมหรือเสริมมุมต่างๆ
ก็ทำได้ง่ายและคล่องตัว ทำให้ สามารถลดต้นทุนในเรื่องของค่าแรงก่อสร้างได้อีกด้วย
ถือได้ว่าหลังคาเพิงหมาแหงนตอบโจทย์การอยู่อาศัยสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความ เรียบง่าย สวยงาม สะดวกสบาย และคุ้มค่า ได้อย่างครบวงจร
หลังคาเพิงหมาแหงนมีความโดดเด่นในเรื่องความลาดเอียงคล้าย กับมุมแหลมตามหลักคณิตศาสตร์
ทำให้ภาพรวมของบ้านไม่ได้ มีดีแต่ความสวยงาม แต่ยังป้องกันแสงแดดและฝนได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเวลาฝนตกหลังคาได้ดังกล่าวจะระบายได้และจัดการน้ำได้ดี และไวกว่าหลังคาแบบอื่นๆ ซึ่งสามารถป้องกันผนัง
และน้ำสาดเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวในช่วงสภาพอากาศปกติสามารถเปิดรับแสงจากภายนอกมา เพิ่มความส่องสว่างให้กับบรรยากาศภายในได้อย่างคล่องตัว
หนึ่งความโดดเด่นของหลังคาสไตล์เพิงหมาแหงนที่ ทุกคนต้องนำไปปรับใช้
ต่อเนื่องจากความโดดเด่นของการระบายน้ำได้ดี หลังคาเพิงหมาแหงนแบบนี้ยังเด่นชัดในเรื่องของการอายุ
การใช้งานที่นาน เพราะไม่เกิดการรั่วซึมบ่อยครั้งเหมือนหลังคา แบบอื่นๆ เนื่องจากการลาดเทของน้ำไหลไปทางเดียว
ทำให้พื้นผิวของกระเบื้องมุงหลังคาไม่มีการขังน้ำ และความชื้นสะสม ที่สำคัญแห้งไว ปัญหาการรั่วซึมจึงเกิดได้ยากมากจริงๆ
หลังคาสไตล์เพิงหมาแหงนไม่ได้จำกัดการออกแบบ เพื่อการปลูกสร้างเพียงแค่บ้าน แต่ยังเป็นส่วนเติมต่างๆได้ดีอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น หลังคาบนดาดฟ้า ชานบ้านบริเวณระเบียง ตลอดจนโรงจอดรถ
ซึ่งการต่อเติมส่วนใหญ่เพิ่มความสะดวกสบาย และคล่องตัวสำหรับการอยู่อาศัยได้ดี ทั้งในแง่ของการให้ร่มเงาและ ความสวยงามอย่างมีสไตล์
ไม่เพียงเท่านั้นหลังคาสไตล์นี้ยังตกแต่งควบคู่ไป กับดีไซน์หลังคาแบบอื่นได้อย่างกลมกลืนและเหมาะสม อาทิ หลังคาทรงแบน หลังคาทรงจั่ว เป็นต้น
นอกจากข้อดีที่หลากหลาย หลังคาเพิงหมาแหงนก็มีข้อเสียอยู่บ้าง และหนึ่งในนั้นคือความไม่สะดวกสบายต่อการบำรุงและรักษา
แม้ว่าหลังคาเพิงหมาแหงนจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ถ้าหากเกิดการชำรุดของแผ่นกระเบื้องหลังคาจะเกิดความลำบาก
ต่อการซ่อมแซมในทันที เนื่องจากรูปทรงของหลังคามีลักษณะลาดเอียง สูง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้หากซ่อมแซมด้วยตัวเอง
ดังนั้น ทุกครั้งที่เกิดความเสียหายควรตามช่างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการจะดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นไปได้ในทุกปีควรตรวจร่องรอยการชำรุด
และทำความสะอาดด้วยการนำเอาเศษหญ้า เศษต้นไม้ต่างๆ ที่ ค้างอยู่บนหลังคาออกจากพื้นผิวเพื่อสร้างความสวยงามสะดวกสบาย
และเติมเต็มความพร้อมด้านการใช้งานเพื่อการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย
แม้ว่าภาพรวมภายนอกสำหรับบ้านหลังคาเพิงเหมาแหงน จะดูสวยงามและทันสมัย แต่รู้หรือไหมว่าความลาดเอียงทำให้พื้นที่
การอยู่อาศัยดูแคบและเล็กลง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ลาดเทลง ส่วนนั้นเพดานจะต่ำกว่าทุกจุด หากไม่ระวังอาจเกิดอุบัติเหตุศีรษะชนเพดานก็เป็นได้
ดังนั้นพื้นที่ ส่วนที่แคบควรนำเอาเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนมาตกแต่งเพื่อ หลบเลี่ยงการเดินไปมาอันเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุสำหรับการอยู่อาศัย
ขณะเดียวกันพื้นที่ในมุมลาดเอียงควรต่อเติมหรือเจาะทำผนังให้เป็นหน้าต่าง เพราะพื้นที่ดังกล่าวความส่องสว่างจะน้อยกว่าส่วนอื่นๆ
ฉะนั้น เมื่อต่อเติมหน้าต่างบรรยากาศภายในบ้านจะมีความส่องสว่างเท่ากันอย่างทั่วถึง ลดความอับและความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราบริเวณผนังได้อีกด้วย
หากพูดถึงเรื่องน้ำหนักกันแล้ว กระเบื้องลอนคู่นั้นจะ มีน้ำหนักมากกว่าเมทัลชีทหลายเท่า กระเบื้องลอนคู่แผ่นหนึ่งน้ำหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม/แผ่น
ในขณะที่เมทัลชีทนั้นเป็นแผ่นเหล็กที่ถูกรีดออกมาให้มีความบางมากๆ ทำให้มีน้ำหนักเบา หากเทียบกับการปูหลังคาบ้านในพื้นที่ที่เท่ากันแล้ว
กระเบื้องลอนคู่จะมีน้ำหนักมากกว่าอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำหนักที่มากกว่า ทำให้โครงหลังคาที่ใช้ ก็ต้องมีความแข็งแรงมากว่าด้วยเช่นกัน
เพื่อใช้แบบรับน้ำหนักของกระเบื้องเป็น 100 แผ่น ทำให้ต้องเสียค่าวัสดุสำหรับโครงสร้างหลังคามากกว่าเมทัลชีทอย่างไม่ต้องสงสัย
ความรวดเร็วในการปูหลังคานั้น การปูหลังคาด้วยเมทัลชีทจะรวดเร็วกว่ามาก เพราะเราแค่เอาแผ่นเมทัลชีทที่เป็นแผ่นยาวและใหญ่มาปู
และยิงติดกับโครงหลังคา ใช้เวลาแป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว เทียบกับการปูหลังคาบ้านด้วยกระเบื้องลอนคู่ที่ต้องวาง ซ้อนกันทีละแผ่น
แถมบางทียังต้องมาเสียเวลาตัดมุมกระเบื้องเพื่อกันน้ำไหลย้อนขึ้นมาอีก ก็ทำให้ใช้เวลาการปูที่มากกว่าเมทัลชีทอย่างแน่นอน
ความทนทาน หรืออายุการใช้งานระหว่างหลังคาลอนคู่กับ หลังคาเมทัลชีทนั้น ถ้าตามปกติแล้วหลังคาที่ปูด้วยกระเบื้องลอนคู่จะ
มีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก ถ้าไม่มีใครไปเดินเหยียบ หรือมีของอะไรหนักๆตกลงมาใส่
หลังคาจากกระเบื้องลอนคู่ก็คงอยู่ได้นานเป็น 30-40 ปี แต่ที่จะไปก่อนน่าจะเป็นโครงหลังคาซะมากกว่า ส่วนหลังคาเมทัลชีทนั้นอายุการใช้งานจะสั้น
กว่ากระเบื้องลอนคู่ หากสารที่เคลือบอยู่ที่ผิวโลหะเกิดหลุดล่อนออกมา ความคงทน และคุณสมบัติต่างๆ เช่น การสะท้อนความร้อน ของเมทัลชีทก็จะลดน้อยลงไปเยอะ
แต่ก็ไม่ต้องห่วง ถึงจะบอกว่าน้อยกว่าลอนคู่ แต่การใช้งานก็เป็น 10 ปีขึ้นไป ซึ่งก็จัดว่านานพอสมควร
1. ปัญหาของกระเบื้องลอนคู่แตกร้าวง่าย
2. ปัญหาการรั่ว ได้ง่าย
3. ขันสกรูไม่แน่น
4. สกรูคลายตัว
5. รูที่กระเบื้องรอบสกรูขยายขนาดตามอายุการใช้งาน เนื่องจากมีการให้ตัวของหลังคา อาจมีรอยร้าวร่วมด้วย
6. ยางรองหัวสกรูเสื่อมสภาพ
7. เจาะยึดผิดวิธี